พุทธประวัติ
พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา พระพุทธเจ้าประสูติในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อน
พุทธศักราช 60 ปี ณ สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล เมื่อพระกุมารประสูติได้ 5 วันพระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้มีพิธีขนานพระนามและทำนายลักษณะของพระกุมาร โดยเชิญพราหมณ์ 108 คนมาทำพิธี ได้ถวายพระนามว่า สิทธัตถะ และทำนายว่าพระกุมารจะเสด็จออกบวช
หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาก็สวรรคต พระองค์จึงได้รับการดูแลจากพระนางปชาบดีโคตมี เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัย พระราชบิดาทรงให้ศึกษาศิลปะวิทยาการในสำนักครูวิศวามิตร เจ้าชายได้ศึกษาวิชาความรู้ที่ควรจะศึกษาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อถึงประเพณีแรกนาขวัญประจำปี เจ้าชายสิทธัตถะได้ตามเสด็จพระราชบิดาไปด้วย พระองค์ได้ทรงพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ที่พบเห็น และทรงมีความเห็นว่า "ความทุกข์อันใหญ่หลวงกำลังครอบงำคนและสัตว์จำนวนมากอยู่ตลอดเวลา" พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าพระโอรสทรงเริ่มคิดไปในทางธรรมพระองค์จึงโปรดให้สร้างปราสาทอันสวยงามขึ้น 3 ปราสาท สำหรับให้พระโอรสประทับในแต่ละฤดู เพื่อให้พระโอรสเกิดความรื่นรมย์ ซึ่งเป็นการโน้มน้าวจิตใจของพระโอรสให้เพลิดเพลินในทางโลก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเข้าสู่วัยหนุ่ม พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา(ยโสธรา) แต่พระองค์ยังทรงอยากจะทราบความเป็นไปภายนอกพระราชวัยว่า ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไร จึงได้ทูลขอพระราชานุญาตเสด็จประพาสพระนคร ทรงพบเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทั้ง 4 นี้ รวมเรียกว่า "เทวทูต " เจ้าชายทรงสลดพระทัยที่ทรงเห็น คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงพอพระทัยที่เห็นนักบวช พระองค์ทรงนำสิ่งที่พบเห็นมาพิจารณาไตร่ตรอง หาทางแก้ไขให้ตนเองและผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์ และทรงคิดได้ว่ามีทางเดียวเท่านั้นที่จะคิดค้นหาทางพ้นทุกข์ได้คือ การออกบวช จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาประสูติประโอรส นามว่า ราหุล แม้ว่าพระองค์จะทรงห่วงใยพระโอรส แต่ด้วยมีพระประสงค์ที่จะหาทางช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยออกบวช จึงเสด็จออกจากพระนครพร้อมนายฉันนะมหาดเล็กและม้ากัณฐกะ จนกระทั่งเสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา พระองค์จึงทรงเปลื้องเครื่องประดับเพื่อให้นายฉันนะนำกลับพระนครพร้อมกับม้าทรง พระองค์ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี และทรงอธิษฐานเป็นนักบวช พระสิทธัตถะได้ทรงศึกษากับอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่พระองค์ไม่ทรงพบหนทางที่จะดับทุกข์ที่แท้จริงได้จึงเลิกเสาะแสวงหาวิชาความรู้จากสำนักลัทธิต่างๆ
หลังจากที่พระสิทธัตถะศึกษาความรู้จากสำนักต่างๆ ไม่ทรงพบหนทางที่จะดับทุกข์ได้ พระองค์จึงคิดที่จะศึกษาหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จึงได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการทรมานกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น กัดฟัน กลั้นลมหายใจ อดอาหาร เป็นต้น แต่พระองค์ไม่ทรงค้นพบวิธีพ้นทุกข์ได้ ซ้ำยังทำให้พระวรกายทรุดโทรม พระองค์จึงเลิกทรมานพระวรกาย และหันกลับมาบริโภคอาหาจากการบิณฑบาตเช่นเดิม เมื่อมีพระองค์มีพระกำลังอย่างเดิมแล้ว พระองค์ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตตามหลักการของฌานหรือสมาธิ โดยทรงยึดทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะที่พระสิทธัตถะกำลังประทับอยู่ใด้ต้นไทร ริมแม่น้ำเนรัญชรา นางสุชาดา ได้นำข้ามธุปายาสมาถวายด้วยเข้าใจว่าพระองค์เป็นเทวดา เมื่อพระองค์ฉันข้าวมธุปายาสแล้วทรงนำถาดเปล่าไปลอยที่แม่น้ำเนรัฐชรา แล้วพระองค์ได้ทรงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ โดยตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าถ้าไม่ค้นพบทางดับทุกข์แล้ว จะไม่ยอมลุกไปไหนโดยเด็ดขาด เมื่อจิตของพระองค์เป็นสมาธิแล้วจึงเกิดปัญญาในการพิจารณาถึงความเป็นไปของธรรมชาติทั้งหลาย พระองค์ทรงเกิดปัญญารู้แจ้ง และตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รวมเวลาตั้งแต่เสด็จออกบวชจนถึงตรัสรู้เป็นเวลา 6 ปี ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา
หลังจากตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะเผยแผ่พระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ ทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส ทรงทราบว่าสิ้นชีวิตแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ก็ทรงทราบว่า ขณะนี้อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จึงได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรด
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ การแสดงธรรมครั้งนี้เรียกว่า ปฐมเทศนา ผลของการแสดงปฐมเทศนาส่งผลให้โกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ หลังจากได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดความเข้าใจธรรม กราบทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา จากนั้นได้แสดงธรรมอบรมพระภิกษุทั้ 5 จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และเกิดพระรัตนตรัยทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรญชรา มีสำนักของชฎิล 3 พี่น้อง ซึ่งเป็นนักบวชที่บูชาไฟ มีบริวารรวมทั้งสิ้น 1,000 คน พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสำนักของชฎิล 3 พี่น้อง ทั้งนี้ด้วยเห็นว่า ชฎิล 3 พี่น้องเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์ ถ้าทำให้ชฎิลเหล่านี้นับถือคำสั่งสอนของพระองค์ได้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธจะทำได้ง่ายขึ้น
พระพุทธเจ้าประทับอยูในสำนักชฎิล 3 พี่น้องเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ได้ทรงแสดงธรรมแก่ชฎิล 3 พี่น้องและบริวารจนสำเร็จ ทั้งหมดได้เห็นแจ้งว่าสิ่งที่ตนเชื่อและปฏิบัตินั้นไร้สาระ ได้หันมานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลขอบวชยอมเป็นพระสาวก พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมอบรมจนทั้งหมดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยชฎิล 3 พี่ น้อง เสด็จเข้าเมืองราชคฤห์ ทรงพักอยู่ที่ลัฏฐิวันหรือสวนตาลหนุ่ม พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงได้พาข้าราชบริพารไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนที่เข้าเฝ้าเกิดความ เลื่อมใสศรัทธาประกาศตนขอนับถือพระพุทธศาสนา และพระเจ้าพิมพิสารได้สำเร็จมรรคผลเป็นโสดาบัน
พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลอารธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปฉันอาหารในพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยสาวก หลังจากถวายอาหารเสร็จแล้วพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำใส่พระหัตถ์พระพุทธเจ้ายกอุทยานสวนป่าไผ่ที่เรียกว่า พระเวฬุวัน ถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ระเวฬุวันจึงเป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก
ในเมืองราชคฤห์ มีชายหนุ่ม 2 คน เป็นเพื่อนรักกัน ชื่ออุปติสสะ และโกลิตะ ได้พาพรรคพวกบริวาร 250 คน ไปบวชอยู่ในสำนักหนึ่งเพื่อแสวงหาหนทางตรัสรู้ แต่เรียนจบความรู้ของสำนักแล้วก็ยังไม่พบทางตรัสรู้ จึงลาจากสำนักแยกย้ายกันไปแสวงหาหนทางตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่ก็ได้สัญญากันว่า ถ้าใครพบหนทางตรัสรู้ก่อนให้มาบอกด้วย
อุปติสสะได้พบกับพระอัสสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์เกิดความเลื่อมใสในอิริยาบท ได้เข้าไปหาและขอให้แสดงธรรมให้ฟัง พระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟังจนอุปติสสะเกิดความเข้าใจในธรรมบรรลุมรรคผลเป็นโสดาบัน จากนั้นได้ลาพระอัสสชะและกลับไปบอกโกลิตะเพื่อนรัก โกลิตะได้ฟังธรรมที่อุปติสสะนำมาบอกก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นโสดบันเช่นกัน จึงได้พาพรรคพวกบริวารไปเข้าเฝ้าขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อุปติสสะเมื่อบวชแล้วได้ชื่อใหม่ว่า สารีบุตร บวชได้ 15 วันจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ต่อมาได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น อัครสาวกฝ่ายขวา ผู้มีความเป็นเลิศด้านปัญญา
ส่วนโกลิตะได้ชื่อใหม่ว่า โมคคัลลานะ บวชได้ 7 วัน ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และได้รับการยกย่องให้เป็น อัครสาวกฝ่ายซ้าย ผู้มีความเป็นเลิศด้านมีฤทธิ์ คือ มีความสามารถพิเศษที่ได้จากการทำสมาธิ เช่น เหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นต้น
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีถัดมาหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ที่ออกไปเผยแผ่พระธรรมยังที่ต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย จำนวน 1,250 รูป พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงทรงให้จัดประชุมพระสาวกขึ้นในวันนั้น และทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งเป็นธรรมที่ถือว่าเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา คือสอน ให้ละเว้นการทำความชั่ว ให้กระทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส การประชุมพระสาวกครั้งนี้มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ 4 ประการคือ
1. เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง เดือน 3
2. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนมากันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
4. พระสงฆ์ทั้งหมดพระพุทธเจ้าทรงบวชให้
ด้วยเหตุนี้การประชุมครั้งนี้จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าทรงได้กำลังจากพระสงฆ์สาวกเผยแผ่พระศาสนาไปยังเมืองและแคว้นต่างๆ ทั้งแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยมีบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญ 4 กลุ่ม ที่เรียนกว่า พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาโดยมีพุทธบริษัท 4 ดังกล่าวช่วยเป็นกำลังสำคัญเป็นเวลาทั้งหมด 45 พรรษา รวมพระชนมายุได้ 80 ปี จึงได้ปรินิพพานที่เมืองกุสินาราในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนปรินิพพานได้เทศนาแก่ สุภัททปริพาชก จนได้สำเร็จอรหันต์และบวชเป็นสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นเสมืนตัวแทนของพระองค์คือพระธรรมวินัย และมี พระสงฆ์ต่างก็เข้ารับหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อเนื่องกันมา จนพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
http://www.trueplookpanya.com/examination/result/724
http://board.postjung.com/629086.html
พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา พระพุทธเจ้าประสูติในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อน
พุทธศักราช 60 ปี ณ สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล เมื่อพระกุมารประสูติได้ 5 วันพระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้มีพิธีขนานพระนามและทำนายลักษณะของพระกุมาร โดยเชิญพราหมณ์ 108 คนมาทำพิธี ได้ถวายพระนามว่า สิทธัตถะ และทำนายว่าพระกุมารจะเสด็จออกบวช
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเข้าสู่วัยหนุ่ม พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา(ยโสธรา) แต่พระองค์ยังทรงอยากจะทราบความเป็นไปภายนอกพระราชวัยว่า ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไร จึงได้ทูลขอพระราชานุญาตเสด็จประพาสพระนคร ทรงพบเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทั้ง 4 นี้ รวมเรียกว่า "เทวทูต " เจ้าชายทรงสลดพระทัยที่ทรงเห็น คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงพอพระทัยที่เห็นนักบวช พระองค์ทรงนำสิ่งที่พบเห็นมาพิจารณาไตร่ตรอง หาทางแก้ไขให้ตนเองและผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์ และทรงคิดได้ว่ามีทางเดียวเท่านั้นที่จะคิดค้นหาทางพ้นทุกข์ได้คือ การออกบวช จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาประสูติประโอรส นามว่า ราหุล แม้ว่าพระองค์จะทรงห่วงใยพระโอรส แต่ด้วยมีพระประสงค์ที่จะหาทางช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยออกบวช จึงเสด็จออกจากพระนครพร้อมนายฉันนะมหาดเล็กและม้ากัณฐกะ จนกระทั่งเสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา พระองค์จึงทรงเปลื้องเครื่องประดับเพื่อให้นายฉันนะนำกลับพระนครพร้อมกับม้าทรง พระองค์ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี และทรงอธิษฐานเป็นนักบวช พระสิทธัตถะได้ทรงศึกษากับอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่พระองค์ไม่ทรงพบหนทางที่จะดับทุกข์ที่แท้จริงได้จึงเลิกเสาะแสวงหาวิชาความรู้จากสำนักลัทธิต่างๆ
หลังจากที่พระสิทธัตถะศึกษาความรู้จากสำนักต่างๆ ไม่ทรงพบหนทางที่จะดับทุกข์ได้ พระองค์จึงคิดที่จะศึกษาหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จึงได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการทรมานกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น กัดฟัน กลั้นลมหายใจ อดอาหาร เป็นต้น แต่พระองค์ไม่ทรงค้นพบวิธีพ้นทุกข์ได้ ซ้ำยังทำให้พระวรกายทรุดโทรม พระองค์จึงเลิกทรมานพระวรกาย และหันกลับมาบริโภคอาหาจากการบิณฑบาตเช่นเดิม เมื่อมีพระองค์มีพระกำลังอย่างเดิมแล้ว พระองค์ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตตามหลักการของฌานหรือสมาธิ โดยทรงยึดทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะที่พระสิทธัตถะกำลังประทับอยู่ใด้ต้นไทร ริมแม่น้ำเนรัญชรา นางสุชาดา ได้นำข้ามธุปายาสมาถวายด้วยเข้าใจว่าพระองค์เป็นเทวดา เมื่อพระองค์ฉันข้าวมธุปายาสแล้วทรงนำถาดเปล่าไปลอยที่แม่น้ำเนรัฐชรา แล้วพระองค์ได้ทรงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ โดยตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าถ้าไม่ค้นพบทางดับทุกข์แล้ว จะไม่ยอมลุกไปไหนโดยเด็ดขาด เมื่อจิตของพระองค์เป็นสมาธิแล้วจึงเกิดปัญญาในการพิจารณาถึงความเป็นไปของธรรมชาติทั้งหลาย พระองค์ทรงเกิดปัญญารู้แจ้ง และตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รวมเวลาตั้งแต่เสด็จออกบวชจนถึงตรัสรู้เป็นเวลา 6 ปี ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา
หลังจากตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะเผยแผ่พระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ ทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส ทรงทราบว่าสิ้นชีวิตแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ก็ทรงทราบว่า ขณะนี้อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จึงได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรด
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ การแสดงธรรมครั้งนี้เรียกว่า ปฐมเทศนา ผลของการแสดงปฐมเทศนาส่งผลให้โกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ หลังจากได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดความเข้าใจธรรม กราบทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา จากนั้นได้แสดงธรรมอบรมพระภิกษุทั้ 5 จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และเกิดพระรัตนตรัยทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ การแสดงธรรมครั้งนี้เรียกว่า ปฐมเทศนา ผลของการแสดงปฐมเทศนาส่งผลให้โกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ หลังจากได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดความเข้าใจธรรม กราบทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา จากนั้นได้แสดงธรรมอบรมพระภิกษุทั้ 5 จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และเกิดพระรัตนตรัยทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรญชรา มีสำนักของชฎิล 3 พี่น้อง ซึ่งเป็นนักบวชที่บูชาไฟ มีบริวารรวมทั้งสิ้น 1,000 คน พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสำนักของชฎิล 3 พี่น้อง ทั้งนี้ด้วยเห็นว่า ชฎิล 3 พี่น้องเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์ ถ้าทำให้ชฎิลเหล่านี้นับถือคำสั่งสอนของพระองค์ได้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธจะทำได้ง่ายขึ้น
พระพุทธเจ้าประทับอยูในสำนักชฎิล 3 พี่น้องเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ได้ทรงแสดงธรรมแก่ชฎิล 3 พี่น้องและบริวารจนสำเร็จ ทั้งหมดได้เห็นแจ้งว่าสิ่งที่ตนเชื่อและปฏิบัตินั้นไร้สาระ ได้หันมานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลขอบวชยอมเป็นพระสาวก พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมอบรมจนทั้งหมดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยชฎิล 3 พี่ น้อง เสด็จเข้าเมืองราชคฤห์ ทรงพักอยู่ที่ลัฏฐิวันหรือสวนตาลหนุ่ม พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงได้พาข้าราชบริพารไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนที่เข้าเฝ้าเกิดความ เลื่อมใสศรัทธาประกาศตนขอนับถือพระพุทธศาสนา และพระเจ้าพิมพิสารได้สำเร็จมรรคผลเป็นโสดาบัน
พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลอารธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปฉันอาหารในพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยสาวก หลังจากถวายอาหารเสร็จแล้วพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำใส่พระหัตถ์พระพุทธเจ้ายกอุทยานสวนป่าไผ่ที่เรียกว่า พระเวฬุวัน ถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ระเวฬุวันจึงเป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก
ในเมืองราชคฤห์ มีชายหนุ่ม 2 คน เป็นเพื่อนรักกัน ชื่ออุปติสสะ และโกลิตะ ได้พาพรรคพวกบริวาร 250 คน ไปบวชอยู่ในสำนักหนึ่งเพื่อแสวงหาหนทางตรัสรู้ แต่เรียนจบความรู้ของสำนักแล้วก็ยังไม่พบทางตรัสรู้ จึงลาจากสำนักแยกย้ายกันไปแสวงหาหนทางตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่ก็ได้สัญญากันว่า ถ้าใครพบหนทางตรัสรู้ก่อนให้มาบอกด้วย
อุปติสสะได้พบกับพระอัสสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์เกิดความเลื่อมใสในอิริยาบท ได้เข้าไปหาและขอให้แสดงธรรมให้ฟัง พระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟังจนอุปติสสะเกิดความเข้าใจในธรรมบรรลุมรรคผลเป็นโสดาบัน จากนั้นได้ลาพระอัสสชะและกลับไปบอกโกลิตะเพื่อนรัก โกลิตะได้ฟังธรรมที่อุปติสสะนำมาบอกก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นโสดบันเช่นกัน จึงได้พาพรรคพวกบริวารไปเข้าเฝ้าขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อุปติสสะเมื่อบวชแล้วได้ชื่อใหม่ว่า สารีบุตร บวชได้ 15 วันจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ต่อมาได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น อัครสาวกฝ่ายขวา ผู้มีความเป็นเลิศด้านปัญญา
ส่วนโกลิตะได้ชื่อใหม่ว่า โมคคัลลานะ บวชได้ 7 วัน ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และได้รับการยกย่องให้เป็น อัครสาวกฝ่ายซ้าย ผู้มีความเป็นเลิศด้านมีฤทธิ์ คือ มีความสามารถพิเศษที่ได้จากการทำสมาธิ เช่น เหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นต้น
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีถัดมาหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ที่ออกไปเผยแผ่พระธรรมยังที่ต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย จำนวน 1,250 รูป พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงทรงให้จัดประชุมพระสาวกขึ้นในวันนั้น และทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งเป็นธรรมที่ถือว่าเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา คือสอน ให้ละเว้นการทำความชั่ว ให้กระทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส การประชุมพระสาวกครั้งนี้มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ 4 ประการคือ
1. เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง เดือน 3
2. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนมากันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
4. พระสงฆ์ทั้งหมดพระพุทธเจ้าทรงบวชให้
1. เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง เดือน 3
2. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนมากันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
4. พระสงฆ์ทั้งหมดพระพุทธเจ้าทรงบวชให้
ด้วยเหตุนี้การประชุมครั้งนี้จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าทรงได้กำลังจากพระสงฆ์สาวกเผยแผ่พระศาสนาไปยังเมืองและแคว้นต่างๆ ทั้งแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยมีบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญ 4 กลุ่ม ที่เรียนกว่า พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาโดยมีพุทธบริษัท 4 ดังกล่าวช่วยเป็นกำลังสำคัญเป็นเวลาทั้งหมด 45 พรรษา รวมพระชนมายุได้ 80 ปี จึงได้ปรินิพพานที่เมืองกุสินาราในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนปรินิพพานได้เทศนาแก่ สุภัททปริพาชก จนได้สำเร็จอรหันต์และบวชเป็นสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นเสมืนตัวแทนของพระองค์คือพระธรรมวินัย และมี พระสงฆ์ต่างก็เข้ารับหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อเนื่องกันมา จนพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
http://www.trueplookpanya.com/examination/result/724
http://board.postjung.com/629086.html
แบบฝึกหัด
1. พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่าอะไร
ก. สุทโธทนะ
ข. สิทธัตถะ
ค. ราหุล
ง. กบิลพัสดุ์
2. พระพทธเจ้าทรงประสูติในวันใด
1. พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่าอะไร
ก. สุทโธทนะ
ข. สิทธัตถะ
ค. ราหุล
ง. กบิลพัสดุ์
2. พระพทธเจ้าทรงประสูติในวันใด
ก. วันวิสาขบูชา
ข. วันอัฎฐมีบูชา
ค. วันเข้าพรรษา
ง. วันอาสาฬหบูชา
ก. วันวิสาขบูชา
ข. วันอัฎฐมีบูชา
ค. วันเข้าพรรษา
ง. วันอาสาฬหบูชา
3. เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงออกผนวช
ก. ตามคำขอร้องของพระบิดาและพระมารดา
ข. ต้องการให้พระนามเลื่องลือไกล
ค. ทรงเข้าพระทัยว่าชีวิตมีแต่ทุกข์
ง. ต้องการให้พระโอรสหลุดพ้นจากทุกข์
4. ข้อใดไม่ใช่การบำเพ็ญทุกรกิริยา
ก. การกำหนดลมหายใจเข้าออก
ข. การกัดฟัน
ค. การอดอาหาร
ง. การกลั้นลมหายใจเข้าออก
5. ข้อใดเรียงลำดับพุทธประวัติได้ถูกต้องตามลำดับเหตุการณ์
ก. ประสูติ ผจญมาร บำเพ็ญเพียร ตรัสรู้
ข. ประสูติ ตรัสรู้ ผจญมาร บำเพ็ญเพียร
ค. ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน
ง. ประสูติ ปฐมเทศนา บำเพ็ญเพียร ปรินิพพาน
6. ข้อใดคือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุในการตรัสรู้
ก. ปฐมเทศนา
ข. อริยสัจ 4
ค. โอวาทปาติโมกข์
ง. เสวยวิมุตติสุข
7. พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกตรงกับวันใด
ก. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
ข. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ค. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ง. แรม 1 ค่ำ เดือน 6
8. ใครคือพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ก. ปัญจวัคีย์
ข. เนยนะ
ค. วสุนธรา
ง. อัญญาโกณฑัญญะ
9. เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา
ก. ปัญจวัคคีย์แนะนำ
ข. พระมารดาขอร้อง
ค. ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้
ง. มีมารมาผจญ
10. ข้อใดคือคำสอนครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จปรินิพพาน
ก. จงบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ข. จงประพฤติตนให้เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียวเปรียบเหมือนบัวที่โผล่พ้น น้ำ
ค. จงเรียนรู้ที่จำกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากตน
ง. จงหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์และหาหนทางดับทุกข์เถิด
3. เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงออกผนวช
ก. ตามคำขอร้องของพระบิดาและพระมารดา
ข. ต้องการให้พระนามเลื่องลือไกล
ค. ทรงเข้าพระทัยว่าชีวิตมีแต่ทุกข์
ง. ต้องการให้พระโอรสหลุดพ้นจากทุกข์
4. ข้อใดไม่ใช่การบำเพ็ญทุกรกิริยา
ก. การกำหนดลมหายใจเข้าออก
ข. การกัดฟัน
ค. การอดอาหาร
ง. การกลั้นลมหายใจเข้าออก
5. ข้อใดเรียงลำดับพุทธประวัติได้ถูกต้องตามลำดับเหตุการณ์
ก. ประสูติ ผจญมาร บำเพ็ญเพียร ตรัสรู้
ข. ประสูติ ตรัสรู้ ผจญมาร บำเพ็ญเพียร
ค. ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน
ง. ประสูติ ปฐมเทศนา บำเพ็ญเพียร ปรินิพพาน
6. ข้อใดคือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุในการตรัสรู้
ก. ปฐมเทศนา
ข. อริยสัจ 4
ค. โอวาทปาติโมกข์
ง. เสวยวิมุตติสุข
7. พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกตรงกับวันใด
ก. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
ข. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ค. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ง. แรม 1 ค่ำ เดือน 6
8. ใครคือพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ก. ปัญจวัคีย์
ข. เนยนะ
ค. วสุนธรา
ง. อัญญาโกณฑัญญะ
9. เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา
ก. ปัญจวัคคีย์แนะนำ
ข. พระมารดาขอร้อง
ค. ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้
ง. มีมารมาผจญ
10. ข้อใดคือคำสอนครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จปรินิพพาน
ก. จงบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ข. จงประพฤติตนให้เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียวเปรียบเหมือนบัวที่โผล่พ้น น้ำ
ค. จงเรียนรู้ที่จำกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากตน
ง. จงหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์และหาหนทางดับทุกข์เถิด
เฉลย
1. ข
2. ค
3. ค
4. ก
5. ค
6. ข
7. ค
8. ก
9. ค
10. ก
1. ข
2. ค
3. ค
4. ก
5. ค
6. ข
7. ค
8. ก
9. ค
10. ก